วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

(School based Management : SMB)
1. ข้อมูลพื้นฐาน
     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ ต้องคำ นึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ และมาตรา 81 กำ หนดให้รัฐต้องจัดการศึกษา อบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรม ให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
การบริหารการศึกษา : พื้นฐานการกระจายอำนาจ
     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 มาตรา 8 และ 9 ได้คำนึงถึงหลักการกระจาย และจัดสรรอำนาจหน้าที่ในแต่ละระดับขององค์กรที่มีหน้าที่ในการบริหารการศึกษา คือ ส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา โดยเฉพาะการกำ หนดอำนาจหน้าที่ในส่วนกลาง เพียงกำ หนดนโยบายและแผนการสนับสนุนส่งเสริมทรัพยากรการศึกษา การติดตามประเมินผลและควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการศึกษามาตรา 39 กำ หนดให้กระทรวงศึกษาธิการ ศาสนา และวัฒนธรรม กระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษาด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหาร    ทั่วไป ไปยังสำ นักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรงหลักการให้ประชาชนและสังคมทั้งมวลเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (AllFor Education) และการจัดการศึกษานั้น ให้เป็นไปเพื่อประชาชนทั้งมวล (Education For All)ทุกเพศทุกวัย และทุกสถานะสังคม ตลอดจนหลักของการตรวจสอบและถ่วงดุลทางการศึกษาเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีมาตรฐานสากลทุกระดับ        การศึกษา
         การตัดสินใจโดยคณะบุคคล มาตรา 40 กำ หนดให้มีคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ทำ หน้าที่กำ กับและ    ส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วยผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิโดยมีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นคณะกรรมการและเลขานุการของ คณะกรรมการ
2. ความหมายและหลักการ
     สาระสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่กล่าวมาข้างต้นนำมาสู่ความคิดกำหนดเป็นแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษารูปแบบใหม่ คือการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – based Management : SBM) หรือการบริหารโดยยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางSBM : เป็นแนวคิดที่ริเริ่มขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาแพร่หลายในประเทศอื่นๆ เช่น แคนนาดา นิวซีแลนด์ ฮ่องกง อิสราแอล ประสบผลสำเร็จในการจัดการศึกษาระดับหนึ่ง เป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจอุตสาหกรรม วิธีการกลยุทธ์ ทำ ให้องค์กรมีประสิทธิภาพในการทำงานผลการปฏิบัติงานมีคุณภาพสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง
หลักการแนวคิด : การบริหารสถานศึกษา แบบ SBM
1. การบริหารที่มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจในการบริหารจัดการ(AUTONOMY)
   1.1 ด้านวิชาการ
   1.2 ด้านงบประมาณ
   1.3 ด้านบริหารบุคคล
   1.4 ด้านการบริหารทั่วไป
2. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย(PARTICIPATION) ในรูปของคณะกรรมการ
3. การบริหารจัดการต้องตอบสนอง และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนผู้ปกครอง และชุมชนมากที่สุด
    “หัวใจของการบริหารสถานศึกษาแบบ SBM คือ การบริหารจัดการตามความต้องการและจำ เป็นของสถานศึกษาโดยคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งจะมีอำ นาจหน้าที่ ร่วมคิด (PLAN) ร่วมตัดสินใจ (DECISION - MAKING) ร่วมทำ(IMPLEMENTATION) และร่วมประเมิน (EVALUATION) โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของสถานศึกษา
3. วัฒนธรรมใหม่ : ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
       ความสำเร็จในการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา จะมีส่วนช่วยให้การปฏิรูปการศึกษาดำเนินไปด้วยดีตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 การปรับเปลี่ยนบทบาทขององค์กร และผู้ที่เกี่ยวข้องจะทำ ให้การบริหารสถานศึกษาแบบ SBM ประสบผลสำเร็จ พอสรุปได้ดังนี้
    1. หน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา : ต้องเปลี่ยนบทบาทในการทำหน้าที่การกำหนดนโยบายและแผนด้านอำนวยการ ด้านการกำกับดูแลมาตรฐานด้านการสนับสนุนวิชาการ และการจัดสรรงบประมาณ
   2. สถานศึกษา : ต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรจากเดิมคอยรับคำสั่งจากหน่วยงานระดับสูงมาเป็นบริหารโดยการริเริ่มด้วยตนเอง
   3. ผู้บริหารสถานศึกษา : พัฒนาทักษะให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพมีภาวะผู้นำสามารถประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนและสถานศึกษา ในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา มีวิสัยทัศน์การบริหารจัดการ    เพื่อพัฒนาการศึกษา
   4. ครู : พัฒนาทักษะในหน้าที่ให้เป็นมืออาชีพ มีความสามารถในการปรับกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน     เป็นศูนย์กลาง
   5. ผู้ปกครองและชุมขน : เข้าใจบทบาทของการมีส่วนร่วม(PARTICIPATION) ในการบริหารและจัดการศึกษาในสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาโดยตรง มีอำนาจหน้าที่ร่วมกัน ร่วมคิด (PLAN) ร่วมตัดสินใจ (DECISION MAKING) ร่วมทำ (IMPLEMENTATION) และร่วมประเมิน(EVALUATION) เพื่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนจะได้ตอบสนองและเป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน และชุมชนให้มากที่สุด
4. บทวิเคราะห์
      การปฏิรูปการศึกษา ตามนัยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542ยึดหลักการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษาเปิดโอกาสให้ประชาชน องค์กร และหน่วยงานในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสถานศึกษา มีอิสระในการตัดสินใจดำ เนินการ โดยคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อทำ หน้าที่กำ กับส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา และจัดทำ สาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คณะกรรมการสถานศึกษาประกอบด้วย ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ อำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการ 4 ด้าน คือ
      ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป คณะกรรมการสถานศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการศึกษายุคใหม่ความจำ เป็นที่ชุมชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เนื่องจากชุมชนจะรู้ดีว่าเขาและลูกหลานเขาต้องการอะไรจากระบบการศึกษา และการที่ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษา ย่อมก่อให้เกิดความรู้สึกมีอำนาจ และมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำ ไปสู่การดำ เนินงานด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ที่มา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์




วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

ภาพถ่าย - กิจกรรม

แต่งสวย ร่วมงานวันแม่

ร่วมถ่ายรูปกับคณะครูในวันไหว้ครู

กับหลายสาวที่นำตกพลิ้วจังหวัดจันทบุรี

ร่วมประชุมจัดทำแผนการปฏิบัติการประจำปี


นำนักเรียนไปทัศนศึกษาที่น้ำตกพลิ้ว


วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แค่...ความผูกพัน

 แค่...ความผูกพัน

วันนี้ เราอาจรู้สึกผูกพันต่อสิ่งหนึ่ง จนคิดว่าเราขาดไม่ได้… แต่เวลาจะทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป
สักวันเราจะรู้ว่า สิ่งที่เราผูกพันในวันนี้ เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่เติมชีวิตเรา ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต
วันหนึ่ง หากเรามีโอกาสได้เจอสิ่งที่ถูกใจสิ่งใหม่ที่เราคิดว่าเราพึงใจ..ปรารถนา.. ต้องการ..ขาดไม่ได้ เราก็จะเริ่มผูกพันกับสิ่งใหม่ได้ในเวลาไม่นานนัก
เวลา.. จะสอนเราเองว่า ความผูกพันกับสิ่งใดๆในช่วงเวลาหนึ่ง จะเป็นความสุขในช่วงเวลานั้นๆ อย่าได้ไปยึดติด อย่าได้ไปใช้ชีวิตทั้งชีวิตลุ่มหลง คิดเสียว่าเราโชคดีที่มีโอกาสได้ผูกพันกับสิ่งที่เรารัก
ความผูกพันก็เหมือนกับความรัก หรืออาจจะเป็นผลพวงที่มาจากความรัก หากเรารักใครคนใดคนหนึ่งมาก เราก็จะรู้สึกว่าผูกพันมาก แต่ความผูกพันที่ว่า ไม่ได้หมายถึงการหยุดตัวเองไว้กับสิ่งนั้นๆ เพราะคนเราทุกคนย่อมผูกพันกับหลายๆสิ่ง
เปรียบเสมือน เรามีแก้วนำอยู่หนึ่งใบ ในยามเช้า…เราอาจต้องใช้แก้วใบนี้ดื่มนม พออากาศร้อนหน่อย…เราอาจต้องการน้ำเย็นๆ บางครั้งที่เราไม่สบาย…เราอาจต้องการน้ำอุ่น ใจเราก็เหมือนกับแก้วน้ำ… ต้องเติมสิ่งต่างๆ ในเวลาที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสม หากเราเติมน้ำเย็นลงไปในแก้วน้ำ แล้วเติมน้ำร้อนลงไปในทันที ในแก้วใบเดียวกัน แก้วใบนั้น..ก็จะร้าว..เริ่มแตก
ซึ่งก็เหมือนกับใจเรา… ความผูกพันต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดในช่วงเวลาหนึ่งนั้น..ไม่ผิด ถ้าเราค่อยๆปรับใจ..ปรับตัวของเราเอง.. ให้กลับคืนในเวลาที่ควร เพราะอย่างน้อยที่สุด..เราก็มีโอกาสได้ผูกพัน ซึ่งก็เหมือนเรามีโอกาสได้รักนั่นเอง

ถ้าคุณมีความสุขที่เห็นเค้าเดินกับคนอื่น… คือ ความรัก
ถ้าคุณเศร้า..เหงา..คิดถึงเค้า..อยากเจอ..อยากพูดคุย… คือ ความรัก
ถ้าคุณร้อนรนที่เค้าอยู่กับใครๆที่ไม่ใช่คุณ… คือ ความใคร่
อยากเก็บไว้เป็นเจ้าของคนเดียว ถ้าคุณเมามาย..เค้าลูบหลังไหล่..ดูแล… คือ ความรักที่บริสุทธิ์ใจ
ถ้าคุณเมามาย..เค้ากอดและสัมผัสร่างกาย… คือ ความใคร่จากเค้าของคุณ
ถ้าคุณเข้าหา.. แต่เค้าหนี… … คือ ความใคร่ ที่หมดเยื่อใยแล้ว
ถ้าคุณหนี.. แต่เขาวิ่งตามมา… … คือ ความรัก ที่ยังไม่มีจุดจบ
ถ้าคุณร้องไห้ให้กับคนที่ไม่มีเยื่อใยในตัวคุณ… คุณคือ คนโง่ และบ้า อย่างน่าอาย
แต่ถ้าคุณพอใจ..จงรัก..และมอบความรักให้กับเค้า… แม้มันจะไม่กลับมาหาคุณก็ตาม
จงดีใจที่ได้รักซะวันนี้.. ดีกว่าที่จะมานั่งเสียใจในวันหน้า